Translation:Constitution of the Kingdom of Thailand (Interim) 2014/20

From Wikisource
Jump to navigation Jump to search

20[edit]

มาตรา ๒๐

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๔) ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘
(๕) ไม่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๖) ไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาหรือตุลาการ อัยการ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙ (๑) หรือ (๒)

Section 20
  1. The Prime Minister and ministers must be qualified and not disqualified as follows:
    (1) being of Thai nationality by birth;
    (2) being of the age not lower than forty years;
    (3) having completed education not lower than the bachelor's degree level or equivalent level;
    (4) not being or not having been during the period of three years prior to the date of appointment a member of a political party, and not being attacked by the disqualifications under section 8;
    (5) not being a member of the National Legislative Assembly, member of the National Reform Council, member of the Constitution Drafting Committee, or member of a local council, or local administrator;
    (6) not being a Justice of the Constitutional Court, judge or justice, public prosecutor, Election Commissioner, Ombudsman, National Anti-Corruption Commissioner, State Audit Commissioner, State Auditor, or National Human Rights Commissioner.
  2. The ministership of the Prime Minister or minister terminates upon lack of any qualification or attack of any disqualification under paragraph 1 or upon happening of the event under section 9 (1) or (2).

21[edit]

มาตรา ๒๑

เมื่อมีกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเมื่อมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราที่ต้องพิจารณาโดยด่วนและลับ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ

เมื่อได้ประกาศใช้พระราชกำหนดแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยไม่ชักช้า ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติอนุมัติ ให้พระราชกำหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่อนุมัติ ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่พระราชกำหนดนั้นใช้บังคับ เว้นแต่พระราชกำหนดนั้นมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกนั้นมีผลใช้บังคับต่อไปตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดดังกล่าวตกไป

การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีที่ไม่อนุมัติ ให้มีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

Section 21
  1. In case of emergency where there is an exigent need of and for the purpose of the maintenance of the security of the Kingdom, public safety, or national economic security, or the averting of a public disaster, or where there is a need to have a law on taxation or currency which requires immediate and private consideration, the Monarch possesses the royal prerogative to enact an emergency decree to be applied as an act.
  2. Once an emergency decree has been promulgated, the Council of Ministers shall introduce such emergency decree to the National Legislative Assembly without delay. If approved by the National Legislative Assembly, the emergency decree shall continue to be applied as an act. If disapproved by the National Legislative Assembly, the emergency decree shall lapse; prescribed, however, that this shall not affect the affairs having happened during the application of the emergency decree, but if that emergency decree resulted in the amendment or repeal of any legal provision, the legal provision existing prior to such amendment or repeal shall resume its applicable effect as from the date the said emergency decree lapsed.
  3. The approval or disapproval of an emergency decree shall be published in the Government Gazette. In case of disapproval, it shall take effect as from the date it is published in the Government Gazette.

22[edit]

มาตรา ๒๒

พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ และพระราชอำนาจในการอื่นตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

Section 22

The Monarch possesses the royal prerogative to enact royal decrees which are not contrary to law, the royal prerogative to grant pardon, and the royal prerogative on other matters in line with the convention of the government of Thailand under the democratic regime with Monarch as Head of State.

23[edit]

มาตรา ๒๓

พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ

หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง

หนังสือสัญญาที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ตามวรรคสอง หมายถึง หนังสือสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรี เขตศุลกากรร่วม หรือการให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือทำให้ประเทศต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

เมื่อมีปัญหาว่า หนังสือสัญญาใดเป็นกรณีตามวรรคสองหรือวรรคสามหรือไม่ คณะรัฐมนตรีจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ

Section 23
  1. The Monarch possesses the royal prerogative to conclude written agreements[23.1] of peace, agreements of armistice, and other agreements[23.2] with foreign nations or international organisations.
  2. Any written agreement which provides for a change in the Thai territory or an extraterritorial area over which Thailand has sovereign rights or jurisdiction by virtue of a written agreement or of international law, or the implementation of which requires the issuance of an act, or which has a wide-scale impact on the economic or social security of the Nation, must receive approval from the National Legislative Assembly. In this respect, the National Legislative Assembly must complete its consideration within sixty days reckoned from the date it receives the matter.
  3. Written agreement which has a wide-scale impact on the economic or social security of the Nation, in paragraph 2, means a written agreement that concerns free trade, customs unions, or permission to use natural resources, or that causes the Nation to lose a right over natural resources, either in whole or in part, or that deals with other matters as prescribed by law.
  4. Where there arises a problem as to whether or not any written agreement falls under the case of paragraph 2 or paragraph 3, the Council of Ministers may apply to the Constitutional Court for a decision. In this event, the Constitutional Court shall complete its decision within thirty days reckoned from the date it receives the application.
Wikisource notes
  1.   The Constitutional Court has decided that the term 'written agreement' in the constitution refers to a treaty. For example, CC Decision 33/2000 (Government Gazette: Volume 118/Part 68 A/Page 71/22 August 2001) says:
    'คำว่า "หนังสือสัญญา" แม้จะมิได้บัญญัติความหมายไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ก็อาจกล่าวได้ว่า หนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๒๔ มีความหมายครอบคลุมถึงความตกลงทุกประเภทที่ประเทศไทยทำขึ้นกับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ หนังสือสัญญาดังกล่าวต้องมีลักษณะที่ทำขึ้นเป็นหนังสือ และเป็นสัญญาที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ โดยที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๒๔ กล่าวถึง "หนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น" ดังนั้น คำว่า "สัญญาอื่น" ย่อมหมายถึง หนังสือสัญญาที่ทำกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศเช่นเดียวกับหนังสือสัญญาสันติภาพและหนังสือสัญญาสงบศึก จะเป็นหนังสือสัญญาภายใต้บังคับของกฎหมายภายในของประเทศใดประเทศหนึ่งมิได้ ดังนั้น อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพจึงเป็นหนังสือสัญญาตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๒๔'
    'The term "written agreement in the [1997] Constitution, section 224, though not defined therein, may be said to cover all types of agreements which Thailand concludes with foreign countries or international organisations, with a view to establishing legal binding relations between each other in line with the international law. The said written agreements must be concluded in writing and subject to international law. As the [1997] Constitution, section 224, mentions "written agreements of peace, agreements of armistice, and other agreements", the phrase "other agreements", no doubt, refers to written agreements concluded with foreign countries or international organisations and subject to international law in the same manner as written agreements of peace and written agreements of armistice, not written agreements subject to internal law of any specific country. For that reason, the Convention on Biological Diversity is a written agreement within the meaning of the [1997] Constitution, section 224.'

    And CC Decision 6–7/2008 (Government Gazette: Volume 125/Part 108 A/Page 1/10 October 2008) says:

    'คำว่า "หนังสือสัญญา" ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ หมายถึง ความตกลงระหว่างประเทศทุกประเภทที่จัดทำขึ้นระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศในรูปแบบที่เป็นลายลักษณ์อักษรและอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะถูกบันทึกไว้ในเอกสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับที่เกี่ยวพันกัน และไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอย่างไร อันเป็นความหมายที่ตรงกันกับคำว่า "treaty" ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๖๙ และตรงกับที่ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยให้ความหมายไว้แล้วในคำวินิจฉัยที่ ๑๑/๒๕๔๒ และคำวินิจฉัยที่ ๓๓/๒๕๔๓'
    'The term "written agreements" in the [2007] Constitution, section 190, refers to all types of international agreements concluded between Thailand and other countries or international organisations in written form and governed by international law, whether embodied in a single instrument or in several connected instruments, which is the meaning corresponding to that of the term "treaty" under the Vienna Convention on the Law of Treaties 1969 and that given by the Constitutional Court in its Decisions 11/1999 and 33/2000.'
  2.   It can also be translated as 'to conclude peace agreements, armistice agreements, and other agreements in writing', as the term 'หนังสือ' ('written' or 'writing') seems to modify all the three types of agreements. See the court opinions in Note 23.1 also.

24[edit]

มาตรา ๒๔

พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า ผู้พิพากษาและตุลาการ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และข้าราชการฝ่ายอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และทรงให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย

Section 24

The Monarch appoints public officers in military and civil services to the positions of permanent secretaries, directors general, and equivalents, as well as judges and justices, office holders in constitutional organs under the Constitution of the Kingdom of Thailand 2007, and public officers in other services as prescribed by law, and removes them from their positions, except in the events that they vacate their positions by reason of death.

25[edit]

มาตรา ๒๕

บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใด ๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่รัฐธรรมนูญนี้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

Section 25

All legal provisions, royal rescripts, and royal commands of whatever kind which deal with official affairs of the State must be affixed with the countersignature of a minister, save where this Constitution provides otherwise.

26[edit]

มาตรา ๒๖

ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

Section 26

Judges and justices enjoy independence in their fair trial and adjudication of legal cases in the name of the Monarch and in keeping with the Constitution and laws.

27[edit]

มาตรา ๒๗

ให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

(๑) การเมือง
(๒) การบริหารราชการแผ่นดิน
(๓) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
(๔) การปกครองท้องถิ่น
(๕) การศึกษา
(๖) เศรษฐกิจ
(๗) พลังงาน
(๘) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๙) สื่อสารมวลชน
(๑๐) สังคม
(๑๑) อื่น ๆ

ทั้งนี้ เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

Section 27

There shall be a National Reform Council bearing the duties to conduct studies and offer recommendations so as to bring about reforms in the following fields:

(1) politics;
(2) administration of official affairs of the State;
(3) law and justice;
(4) local government;
(5) education;
(6) economy;
(7) energy;
(8) public health and environment;
(9) mass communication;
(10) society;
(11) others;

prescribed that this is to make the democratic regime of government with Monarch as Head of State become suitable with the nature of the Thai society and furnish it with an honest and fair system of election and an efficient mechanism for prevention and elimination of corruption and misconduct, with a view to eradicating disparity and establishing economic and social fairness for sustainable development, enabling the mechanism of the State to provide public service in a thorough, convenient, and expeditious manner, and allowing the strict and fair enforcement of laws.

28[edit]

มาตรา ๒๘

ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคำแนะนำ

พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติคนหนึ่ง และเป็นรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่เกินสองคน ตามมติของสภาปฏิรูปแห่งชาติ

ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และประธานสภาและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ

Section 28
  1. The National Reform Council shall consist of members numbering not more than two hundred and fifty, whom the Monarch appoints from amongst the persons of Thai nationality by birth and of the age not lower than thirty-five years, according to the advice presented by the National Council for Peace and Order.
  2. The Monarch appoints one member of the National Reform Council as President of the National Reform Council and not more than two others as Vice Presidents of the National Reform Council, pursuant to the resolution of the National Reform Council.
  3. The Leader of the National Council for Peace and Order shall countersign the appointment of members of the National Reform Council as well as the President and Vice Presidents of the National Reform Council.

29[edit]

มาตรา ๒๙

สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙) และให้นำความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติโดยอนุโลม แต่การวินิจฉัยตามมาตรา ๙ วรรคสอง ให้เป็นอำนาจของสภาปฏิรูปแห่งชาติ

Section 29

Members of the National Reform Council must not be attacked by the disqualifications under section 8 (2), (3), (4), (5), (6), (7), (8), and (9). And the provision of section 9 shall apply mutatis mutandis to the termination of memberships of the members of the National Reform Council; however, the rendition of decisions under section 9, paragraph 2, shall be the power of the National Reform Council.

30[edit]

มาตรา ๓๐

ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติดำเนินการคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(๑) จัดให้มีคณะกรรมการสรรหาบุคคลด้านต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗ ด้านละหนึ่งคณะ และให้มีคณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดแต่ละจังหวัดเพื่อสรรหาจากบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้น ๆ
(๒) ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาแต่ละด้านจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้และประสบการณ์เป็นที่ยอมรับของบุคคลในด้านนั้น ๆ
(๓) ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหาบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๘ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๙ และมีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ในแต่ละด้าน แล้วจัดทำบัญชีรายชื่อเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการนี้ คณะกรรมการสรรหาจะเสนอชื่อตนเองมิได้
(๔) การสรรหาบุคคลตาม (๓) ให้คำนึงถึงความหลากหลายของบุคคลจากกลุ่มต่าง ๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ การกระจายตามจังหวัด โอกาสและความเท่าเทียมกันทางเพศ รวมทั้งผู้ด้อยโอกาส
(๕) ให้คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดประกอบด้วยบุคคลตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
(๖) ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติคัดเลือกบุคคลที่เห็นสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาตาม (๑) เสนอ ไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน โดยในจำนวนนี้ให้คัดเลือกจากบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดเสนอจังหวัดละหนึ่งคน

จำนวนกรรมการในคณะกรรมการสรรหาแต่ละคณะ วิธีการสรรหา กำหนดเวลาในการสรรหา จำนวนบุคคลที่จะต้องสรรหา และการอื่นที่จำเป็น ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

Section 30
  1. The National Council for Peace and Order shall conduct the selection of persons suitable for appointment as members of the National Reform Council in compliance with the following rules:
    (1) there shall be panels for selection of persons in the fields described in section 27, one panel for each field, and there shall be provincial selection panels, one panel for each province, for selection of persons domiciled in each province;
    (2) the National Council for Peace and Order shall appoint members of the selection panel for each field from amongst the qualified persons with the knowledge and experience accepted by the persons in such field;
    (3) the selection panels shall carry out the selection of persons who possess the qualifications under section 28, are not attacked by the disqualifications under section 29, and are of recognised knowledge and competence in each field, and shall then prepare lists of nominees to be submitted to the National Council for Peace and Order; prescribed that, in this respect, no selection panel may nominate its own members;
    (4) in selecting persons according to (3), regard shall be had to the diversity of people from various groups in the public sector, private sector, social sector, academic sector, professional sector, and other sectors, as may be beneficial to the performance of duties of the National Reform Council, as well as provincial variation, gender opportunities and equality, and disadvantaged people;
    (5) the provincial selection panels shall consist of the persons named in royal decrees;
    (6) the National Council for Peace and Order shall select out of the lists submitted by the selection panels under (1) the persons suitable for appointment as members of the National Reform Council, numbering not more than two hundred and fifty, of whom some shall be selected out of the persons nominated by the provincial selection panels, one for each province.
  2. The number of members of each selection panel, the procedure for the selection, the time limit for the selection, the number of persons needed to be selected, and other necessary matters shall be as prescribed in royal decrees.

31[edit]

มาตรา ๓๑

สภาปฏิรูปแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๗ เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๒) เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ
(๓) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น

ในการดำเนินการตาม (๑) หากเห็นว่า กรณีใดจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นใช้บังคับ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป ในกรณีที่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้จัดทำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป

ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะตาม (๒) ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติครั้งแรก

ให้นำความในมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม

Section 31
  1. The National Reform Council shall have the following authority:
    (1) studying, analysing, and preparing guidelines and recommendations so as to bring about reforms in various fields according to section 27, and submitting them to the National Legislative Assembly, Council of Ministers, National Council for Peace and Order, and relevant agencies;
    (2) submitting opinions or recommendations to the Constitution Drafting Committee for the sake of the preparation of a draft constitution;
    (3) considering and giving approval to a draft constitution drawn up by the Constitution Drafting Committee.
  2. In carrying out the activities under (1), if it finds that the enactment of an act or organic act is required for any matter, the National Reform Council shall prepare a bill for the said act and introduce it to the National Legislative Assembly for further consideration. In case of a money bill or organic bill, the Council shall, after preparing it, introduce it to the Council of Ministers for further action.
  3. The National Reform Council shall submit the opinions or recommendations according to (2) to the Constitution Drafting Committee within sixty days reckoned from the date the first meeting of the National Reform Council takes place.
  4. The provisions of section 13 and section 18 shall also apply to the performance of duties of the National Reform Council mutatis mutandis.

32[edit]

มาตรา ๓๒

ให้มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย กรรมาธิการจำนวนสามสิบหกคน ซึ่งประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่งตั้งจากบุคคลดังต่อไปนี้

(๑) ประธานกรรมาธิการ ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอ
(๒) ผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ จำนวนยี่สิบคน
(๓) ผู้ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เสนอฝ่ายละห้าคน

การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นครั้งแรก

ในกรณีที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยให้ถือว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเท่าที่เหลืออยู่ แต่ให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่งตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่างตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง

ให้นำความในมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม

Section 32
  1. There shall be a Constitution Drafting Committee to prepare a draft constitution, consisting of members numbering thirty-six, whom the President of the National Reform Council appoint from the following persons:
    (1) the Chair of the Committee nominated by the National Council for Peace and Order;
    (2) the persons nominated by the National Reform Council, numbering twenty;
    (3) the persons nominated by the National Legislative Assembly, the Council of Ministers, and the National Council for Peace and Order, five per each agency.
  2. The appointment of members of the Constitution Drafting Committee according to paragraph 1 must completely be made within fifteen days reckoned from the date the National Reform Council is convened for the first time.
  3. In the event that a Constitution Drafting Committee member vacates their positions for whatever reason, the remaining members of the Constitution Drafting Committee shall continue to carry out duties and it shall be deemed that the Constitution Drafting Committee consists of the remaining Constitution Drafting Committee members. However, the President of the National Reform Council shall appoint a Constitution Drafting Committee member to fill the vacant positions in accordance with the rules set out in paragraph 1, within fifteen days reckoned from the date the Constitution Drafting Committee member vacates their positions.
  4. The provision of section 18 shall also apply to the performance of duties of the Constitution Drafting Committee mutatis mutandis.

33[edit]

มาตรา ๓๓

กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

(๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เว้นแต่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
(๒) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
(๓) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๙
(๔) เป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

Section 33
  1. A member of the Constitution Drafting Committee must be of Thai nationality by birth, must be of the age not lower than forty years, and must not be attacked by the following disqualifications:
    (1) being a political position holder, save where he is a position holder in the National Council for Peace and Order, member of the National Legislative Assembly, or member of the National Reform Council;
    (2) being or having been during the period of three years prior to his appointment a member of or holder of any position in a political party;
    (3) being subject to the disqualifications under section 29;
    (4) being a judge or justice, or position holder in a constitutional organ under the Constitution of the Kingdom of Thailand 2007.
  2. For the purpose of eliminating conflicts of interest, no member of the Constitution Drafting Committee may hold a political position during the period of two years reckoned from the date he vacates the position of Constitution Drafting Committee member.

34[edit]

มาตรา ๓๔

ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา ๓๑ (๒) แล้วเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณา

ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนำความเห็นหรือข้อเสนอแนะของสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา ๓๑ (๒) ความเห็นของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และความเห็นของประชาชนรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาประกอบการพิจารณาด้วย

Section 34
  1. The Constitution Drafting Committee shall complete the preparation of a draft constitution within one hundred and twenty days reckoned from the date it receives opinions or recommendations from the National Reform Council in accordance with section 31 (2), and shall then introduce it to the National Reform Council for consideration.
  2. In preparing the draft constitution, the Constitution Drafting Committee shall also take into account the opinions or recommendations of the National Reform Council under section 31 (2), the opinions of the National Legislative Assembly, the Council of Ministers, and the National Council for Peace and Order, as well as the opinions of the people and relevant agencies.

35[edit]

มาตรา ๓๕

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) การรับรองความเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
(๒) การให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่เหมาะสมกับสภาพสังคมของไทย
(๓) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งกลไกในการกำกับและควบคุมให้การใช้อำนาจรัฐเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน
(๔) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่า กระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
(๕) กลไกที่มีประสิทธิภาพที่ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และพรรคการเมือง สามารถปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินกิจกรรมได้โดยอิสระ ปราศจากการครอบงำหรือชี้นำโดยบุคคลหรือคณะบุคคลใด ๆ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(๖) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของหลักนิติธรรม และการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วนและทุกระดับ
(๗) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน และป้องกันการบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว
(๘) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของรัฐให้เป็นไปอย่างคุ้มค่า และตอบสนองต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน โดยสอดคล้องกับสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ และกลไกการตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงินของรัฐที่มีประสิทธิภาพ
(๙) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้มีการทำลายหลักการสำคัญที่รัฐธรรมนูญจะได้วางไว้
(๑๐) กลไกที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูปเรื่องสำคัญต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ต่อไป

ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาถึงความจำเป็นและความคุ้มค่าที่ต้องมีองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่จำเป็นต้องมี ให้พิจารณามาตรการที่จะให้การดำเนินงานขององค์กรดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วย

Section 35
  1. The Constitution Drafting Committee must prepare a draft constitution which covers the following also:
    (1) the recognition of the Kingdom as being one and whole and incapable of division;
    (2) the adoption of a democratic regime of government with Monarch as Head of State, which is suitable with the nature of the Thai society;
    (3) an efficient mechanism to prevent, check, and eliminate corruption and misconduct in both the public and private sectors, as well as a mechanism to supervise and control the exercise of the state power for the common good of the Nation and its people;
    (4) an efficient mechanism to completely prevent and check the entry into a political position by a person who has been convicted by a lawful judgment or order of corruption or misconduct or of having rendered an election unfair or unjust;
    (5) an efficient mechanism to enable state authorities, especially political position holders, and political parties to perform duties or carry out activities in an independent manner, free from unlawful influence or direction asserted by any person or entity;
    (6) an efficient mechanism to strengthen the clutches of the rule of law, and to strengthen morality, ethics, and good governance in every sector and at every level;
    (7) an efficient mechanism to restructure and propel the economic and social systems for sustainable fairness and prevention of the conduct of public administration with the aim of establishing political popularity which may expose the economic system of the Nation and its people to long-term damage;
    (8) an efficient mechanism to allow the cost-effective expenditure of state money in response to the common good of the people and in compliance with the financial and fiscal condition of the Nation, as well as an efficient mechanism to check and disclose the expenditure of state money;
    (9) an efficient mechanism to prevent the destruction of significant principles to be laid down by the constitution;
    (10) a mechanism to drive forwards the completion of important reforms.
  2. The Constitution Drafting Committee shall consider the necessity and cost-effectiveness of keeping in existence the constitutional organs or organs established by virtue of the constitution. In case it is necessary to keep any of them in existence, the Committee shall also consider measures for allowing such organ to operate in an efficient and effective manner.

36[edit]

มาตรา ๓๖

ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำเสร็จต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ และให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติจัดให้สภาปฏิรูปแห่งชาติประชุมกันเพื่อพิจารณา เสนอแนะ หรือให้ความเห็นให้แล้วเสร็จภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ

สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติเสร็จสิ้นการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง คำขอแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องมีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ยื่นคำขอหรือที่ให้คำรับรองคำขอของสมาชิกอื่นแล้ว จะยื่นคำขอหรือรับรองคำขอของสมาชิกอื่นอีกมิได้

ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญส่งร่างรัฐธรรมนูญให้คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วย และคณะรัฐมนตรีหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะเสนอความคิดเห็นหรือยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ

คำขอแก้ไขเพิ่มเติม ให้ยื่นต่อประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

Section 36
  1. The Constitution Drafting Committee shall introduce the completely prepared draft constitution to the President of the National Reform Council, and the President of the National Reform Council shall have the National Reform Council meet to complete the conduct of consideration, making of recommendations, or expression of opinions within ten days reckoned from the date of receipt of the draft constitution.
  2. A member of the National Reform may apply for amending the draft constitution within thirty days reckoned from the date the National Reform Council completes the conduct of consideration according to paragraph 1. An application for amendment filed by a member of the National Reform Council must be countersigned by National Reform Council members numbering not less than one tenth of the number of the National Reform Council members. And when a member of the National Reform Council has already filed an application or countersigned an application of another member, he may no longer file another application or countersign an application of another member.
  3. The Constitution Drafting Committee shall also submit the draft constitution to the Council of Ministers and the National Council for Peace and Order. And the Council of Ministers or National Council for Peace and Order may offer views or file applications for amendment within thirty day reckoned from the date it receives the draft constitution.
  4. Applications for amendment shall be filed with the Chair of the Constitution Drafting Committee.