ประกาศตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2480

จาก วิกิซอร์ซ
ตราครุฑ
ตราครุฑ
ประกาศ
ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

โดยที่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งประกอบด้วย

๑.นายนาวาเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ร.น. เป็นประธาน

๒.เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

๓.นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) ได้ลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งรัฐธรรมนูญ จึ่งได้ลงมติณวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นใหม่ ประกอบด้วย

๑.นายนาวาเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ร.น. เป็นประธาน

๒.เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

๓.นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน)

ทั้งนี้ ย่อมมีข้อตกลงว่า ในการลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษานั้น ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ และในการลงนามในเอกสารราชการนั้น ให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่างน้อย ๒ ท่านเป็นผู้ลงนาม

จึ่งขอประกาศให้ทราบทั่วกัน

  • ประกาศมาณวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐
  • พระยามานวราชเสวี
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร

บรรณานุกรม[แก้ไข]

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก