พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2558

จาก วิกิซอร์ซ

เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๐ ก

๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
หน้า ๑
ราชกิจจานุเบกษา

ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
พระราชบัญญัติ
ราชบัณฑิตยสภา
พ.ศ. ๒๕๕๘

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยราชบัณฑิตยสถาน

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตราพระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘"

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราให้ยกเลิกพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๔

มาตราให้ราชบัณฑิตยสถานตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นสำนักงานราชบัณฑิตยสภาตามพระราชบัญญัตินี้

ให้สภาราชบัณฑิตตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นราชบัณฑิตยสภาตามพระราชบัญญัตินี้

มาตราให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๑
บททั่วไป

มาตราให้ราชบัณฑิตยสภาเป็นสถานที่บำรุงสรรพวิชา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาขึ้น มีวัตถุประสงค์ที่จะค้นคว้า และวิจัยเพื่อเผยแพร่ ส่งเสริม แลกเปลี่ยนความรู้ พัฒนา อนุรักษ์ และให้บริการทางวิชาการให้เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศและประชาชน

มาตราให้สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเป็นส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

มาตราให้สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑)ค้นคว้า วิจัย และบำรุงสรรพวิชา แล้วนำผลงานที่ได้สร้างสรรค์ออกเผยแพร่ให้เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศและประชาชน

(๒)ติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสานงานทางวิชาการกับองค์การปราชญ์และสถาบันทางวิชาการอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

(๓)ให้ความเห็น คำแนะนำ และคำปรึกษาทางวิชาการแก่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี

(๔)จัดการศึกษาอบรมและพัฒนาทางวิชาการเกี่ยวกับภาษาไทย ภาษาไทยถิ่น และสาขาวิชาตามมาตรา ๑๐ และให้ประกาศนียบัตรชั้นสูง ประกาศนียบัตร สัมฤทธิบัตร และวุฒิบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาอบรมและพัฒนาทางวิชาการ ทั้งนี้ ตามข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา

(๕)ให้บริการทางวิชาการแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานของเอกชน และประชาชน

(๖)ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน การบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยและงานวิชาการอื่น ๆ

(๗)กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย การอนุรักษ์ภาษาไทย มิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม การส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น

(๘)ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการแปลสรรพวิชาจากภาษาอื่นเป็นภาษาไทยหรือจากภาษาไทยเป็นภาษาอื่น

(๙)จัดสวัสดิการ การสงเคราะห์และสิทธิประโยชน์อื่นแก่สมาชิกราชบัณฑิตยสภา ทั้งนี้ ตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

(๑๐)ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

(๙)จัดสวัสดิการ การสงเคราะห์และสิทธิประโยชน์อื่นแก่สมาชิกราชบัณฑิตยสภา ทั้งนี้ ตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

(๑๐)ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

มาตรามาตรา ๙ให้แบ่งงานทางวิชาการของราชบัณฑิตยสภาออกเป็นสำนัก ดังนี้

(๑)สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

(๒)สำนักวิทยาศาสตร์

(๓)สำนักศิลปกรรม

การจัดตั้งสำนักขึ้นใหม่ การยุบ การรวม การเปลี่ยนชื่อ หรือการแยกสำนัก ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

มาตรา๑๐การกำหนดประเภทวิชาในแต่ละสำนัก และการแบ่งประเภทวิชาออกเป็นสาขาวิชาให้ทำเป็นข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา

มาตรา๑๑ข้อบังคับราชบัณฑิตยสภาให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

หมวด ๒
สมาชิก

มาตรา๑๒ราชบัณฑิตยสภามีสมาชิก ๓ ประเภท คือ

(๑)ภาคีสมาชิก

(๒)ราชบัณฑิต

(๓)ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์

มาตรา๑๓ภาคีสมาชิก ได้แก่ บุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ และมีคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ ซึ่งสมัครเข้าเป็นภาคีสมาชิกของสำนักใดสำนักหนึ่งตามข้อบังคับราชบัณฑิตยสภาและสำนักนั้นได้มีมติรับเป็นภาคีสมาชิกแล้ว

มาตรา๑๔ผู้สมัครเป็นภาคีสมาชิกต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑)มีสัญชาติไทย

(๒)มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์

(๓)ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๔)ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(๕)ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง

มาตรา๑๕ผู้สมัครเป็นภาคีสมาชิกต้องมีคุณวุฒิเป็นผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยได้รับปริญญา ประกาศนียบัตร หรือตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา และได้ใช้คุณวุฒิแสดงความสามารถอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑)ได้แสดงความสามารถในการปฏิบัติงานจนมีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่ประจักษ์ในวิชาการศิลปะ หรือวิชาชีพ

(๒)ได้คิดขึ้นใหม่หรือคิดแก้ไขให้ดีขึ้นซึ่งสิ่งประดิษฐ์ กรรมวิธี หรือหลักวิชาการซึ่งราชบัณฑิตยสภาเห็นว่าเป็นประโยชน์เป็นที่ประจักษ์

(๓)ได้แต่งหรือแปลหนังสือซึ่งราชบัณฑิตยสภาเห็นว่าดีถึงขนาดและหนังสือนั้นได้พิมพ์เผยแพร่แล้ว

มาตรา๑๖การกำหนดจำนวนภาคีสมาชิกซึ่งจะมีได้ในแต่ละสำนัก หลักเกณฑ์ และวิธีการสมัครและวิธีการรับบุคคลเป็นภาคีสมาชิก ให้เป็นไปตามข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา

มาตรา๑๗ราชบัณฑิต ได้แก่ ภาคีสมาชิกซึ่งนายกรัฐมนตรีจะได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตในประเภทวิชาสาขาใดสาขาหนึ่งที่อยู่ในหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภาโดยคำแนะนำของราชบัณฑิตยสภา

มาตรา๑๘การกำหนดจำนวนราชบัณฑิตซึ่งจะมีได้ในแต่ละสำนัก การตั้งตำแหน่งราชบัณฑิตขึ้นใหม่ การตั้งราชบัณฑิตในตำแหน่งที่ว่าง รวมทั้งการเลือกภาคีสมาชิกเพื่อแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตในตำแหน่งที่ตั้งขึ้นใหม่หรือในตำแหน่งที่ว่าง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา

มาตรา๑๙ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีชื่อเสียงเกียรติคุณดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ในประเภทวิชาสาขาใดสาขาหนึ่งที่อยู่ในหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภาและได้ให้ความร่วมมือปฏิบัติงานทางวิชาการอันเป็นประโยชน์แก่กิจการของราชบัณฑิตยสภาซึ่งนายกรัฐมนตรีจะได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์โดยคำแนะนำของราชบัณฑิตยสภา

มาตรา๒๐ให้สมาชิกราชบัณฑิตยสภามีสิทธิและประโยชน์ ดังต่อไปนี้

(๑)ภาคีสมาชิก

(ก)รับเงินอุปการะ สวัสดิการ การสงเคราะห์และสิทธิประโยชน์อื่นตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

(ข)ประดับเข็มเครื่องหมายตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

(ค)เข้าร่วมประชุมและแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายในการประชุมสำนักหรือการประชุมราชบัณฑิตยสภา แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

(๒)ราชบัณฑิต

(ก)รับเงินอุปการะ สวัสดิการ การสงเคราะห์และสิทธิประโยชน์อื่นตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

(ข)ประดับเข็มเครื่องหมายตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

(ค)ได้รับความยกย่องในงานพระราชพิธี งานพิธี หรือสโมสรสันนิบาตของทางราชการเสมอด้วยข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดี

(ง)เข้าร่วมประชุมและแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายในการประชุมสำนักหรือการประชุมราชบัณฑิตยสภาและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

(๓)ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์

(ก)ประดับเข็มเครื่องหมายตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

(ข)ได้รับความยกย่องในงานพระราชพิธี งานพิธี หรือสโมสรสันนิบาตของทางราชการเสมอด้วยข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดี

(ค)เข้าร่วมประชุมในการประชุมราชบัณฑิตยสภาในฐานะที่ปรึกษา

มาตรา๒๑ให้มีกองทุนสวัสดิการสมาชิกราชบัณฑิตยสภาขึ้นเพื่อสะสมทุนและใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการ การสงเคราะห์และสิทธิประโยชน์อื่นแก่สมาชิกราชบัณฑิตยสภาโดยอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้

(๑)เงินค่าธรรมเนียมสมาชิกตามอัตราและระยะเวลาจ่ายที่ราชบัณฑิตยสภากำหนด

(๒)รายได้ตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง ตามจำนวนที่ราชบัณฑิตยสภากำหนดให้ส่งเข้ากองทุน

(๓)รายรับจากการจัดกิจกรรม หรือการจัดบริการของกองทุนสวัสดิการ

(๔)เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้

(๕)เงินอุดหนุนหรือรายได้อื่นตามที่รัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐจัดสรรให้

(๖)รายได้อื่น

(๗)ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน

รายได้ของกองทุนสวัสดิการสมาชิกราชบัณฑิตยสภาไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

ให้การบริจาคให้กองทุนสวัสดิการสมาชิกราชบัณฑิตยสภาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เช่นเดียวกับการบริจาคให้แก่กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ

การบริหาร การเงิน การบัญชีและการตรวจสอบของกองทุนสวัสดิการสมาชิกราชบัณฑิตยสภาให้เป็นไปตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

มาตรา๒๒สมาชิกราชบัณฑิตยสภาพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(๑)ตาย

(๒)ลาออก

(๓)ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๔ (๑) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ (๓) หรือ (๔)

(๔)ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(๕)ที่ประชุมราชบัณฑิตยสภามีมติให้พ้นจากตำแหน่งด้วยคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนราชบัณฑิตทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับราชบัณฑิตยสภาในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

(ก)ขาดประชุมสำนักที่ตนเป็นภาคีสมาชิกหรือราชบัณฑิตเป็นเวลาติดต่อกันเกินหกเดือนหรือขาดประชุมราชบัณฑิตยสภาสี่ครั้งติดต่อกัน ทั้งนี้ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

(ข)มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง

ในกรณีที่ราชบัณฑิตหรือราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์พ้นจากตำแหน่ง ให้นายกราชบัณฑิตยสภารายงานต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ

มาตรา๒๓ราชบัณฑิตที่อยู่ในตำแหน่งซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติเพราะเหตุชรา พิการ หรือทุพพลภาพ และราชบัณฑิตที่พ้นจากตำแหน่งเพราะเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งสำนักที่ราชบัณฑิตผู้นั้นประจำอยู่มีมติว่าอยู่ในฐานะที่ควรอนุเคราะห์ ให้มีสิทธิได้รับเงินอุปการะพิเศษตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

หมวด ๓
ราชบัณฑิตยสภา

มาตรา๒๔ให้มีสภาขึ้นในสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรียกว่า “ราชบัณฑิตยสภา” ประกอบด้วย

(๑)นายกราชบัณฑิตยสภาตามมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง เป็นนายกสภา

(๒)อุปนายกราชบัณฑิตยสภาสองคนตามมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง เป็นอุปนายกสภา

(๓)ราชบัณฑิตทุกคน เป็นกรรมการสภา

ให้เลขาธิการราชบัณฑิตยสภาเป็นเลขานุการสภา และรองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภาเป็นผู้ช่วยเลขานุการสภา

มาตรา๒๕ให้ราชบัณฑิตยสภาประชุมเลือกราชบัณฑิตเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกราชบัณฑิตยสภาคนหนึ่ง และเป็นอุปนายกราชบัณฑิตยสภาสองคน แล้วเสนอชื่อไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง

หลักเกณฑ์ และวิธีการในการเลือกนายกราชบัณฑิตยสภา และอุปนายกราชบัณฑิตยสภาให้เป็นไปตามข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา

มาตรา๒๖นายกราชบัณฑิตยสภามีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(๑)เป็นผู้แทนของราชบัณฑิตยสภาในการดำเนินงานตามมาตรา ๘ (๒}}และ (๓)

(๒)กำกับดูแลการปฏิบัติงานของราชบัณฑิตยสภาทางด้านวิชาการให้เป็นไปตามนโยบาย ข้อบังคับ ระเบียบ และมติของราชบัณฑิตยสภา

(๓)แต่งตั้งคณะกรรมการตามมาตรา ๓๖

มาตรา๒๗อุปนายกราชบัณฑิตยสภามีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(๑)ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกราชบัณฑิตยสภาตามที่นายกราชบัณฑิตยสภามอบหมาย

(๒)เป็นผู้รักษาการแทนนายกราชบัณฑิตยสภา ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภาหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้

มาตรา๒๘นายกราชบัณฑิตยสภาและอุปนายกราชบัณฑิตยสภา มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี และอาจได้รับเลือกใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้

ในกรณีที่นายกราชบัณฑิตยสภาหรืออุปนายกราชบัณฑิตยสภาพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้นายกราชบัณฑิตยสภาหรืออุปนายกราชบัณฑิตยสภาซึ่งพ้นจากตำแหน่งคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่านายกราชบัณฑิตยสภาหรืออุปนายกราชบัณฑิตยสภา แล้วแต่กรณี ซึ่งได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่

มาตรา๒๙นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๒๘ นายกราชบัณฑิตยสภาและอุปนายกราชบัณฑิตยสภาพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(๑)ลาออกจากตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา หรืออุปนายกราชบัณฑิตยสภา

(๒)พ้นจากตำแหน่งสมาชิกราชบัณฑิตยสภาตามมาตรา ๒๒

มาตรา๓๐ในกรณีที่นายกราชบัณฑิตยสภาหรืออุปนายกราชบัณฑิตยสภาพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้มีการเลือกผู้ดำรงตำแหน่งแทน เว้นแต่วาระของนายกราชบัณฑิตยสภาหรืออุปนายกราชบัณฑิตยสภาเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่เลือกผู้ดำรงตำแหน่งแทนก็ได้ ผู้ซึ่งได้รับเลือกให้อยู่ในตำแหน่งเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

มาตรา๓๑ราชบัณฑิตยสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑)วางนโยบายในการดำเนินงานด้านวิชาการตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

(๒)พิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดตั้ง การยุบ การรวม การเปลี่ยนชื่อ หรือการแยกสำนัก

(๓)พิจารณาให้ความเห็นชอบในการกำหนดประเภทวิชาของสำนักและการแบ่งวิชาแต่ละประเภทออกเป็นสาขาวิชาต่าง ๆ

(๔)พิจารณาให้ความเห็นชอบในการออกข้อบังคับ และระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานของราชบัณฑิตยสภา

(๕)เลือกนายกราชบัณฑิตยสภา อุปนายกราชบัณฑิตยสภา รวมทั้งมีมติให้ความเห็นชอบในการเสนอแต่งตั้งราชบัณฑิตและราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์

(๖)พิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการของราชบัณฑิตยสภาตามที่นายกราชบัณฑิตยสภาเสนอ

(๗)ออกข้อบังคับว่าด้วยการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมและค่าบริการในการให้บริการทางวิชาการและการจัดการศึกษาอบรมและพัฒนาทางวิชาการ และข้อบังคับอื่น

(๘)ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภา

บรรดารายได้ที่ได้รับจากการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมและค่าบริการในการให้บริการทางวิชาการและการจัดการศึกษาอบรมและพัฒนาทางวิชาการ ให้นำไปใช้จ่ายในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภาและตามมาตรา ๘ โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

มาตรา๓๒การประชุมราชบัณฑิตยสภา ให้เป็นไปตามข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา

ให้มีการประชุมราชบัณฑิตยสภาอย่างน้อยปีละสี่ครั้ง เพื่อปรึกษา พิจารณาและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา๓๓ให้ราชบัณฑิตแต่ละสำนักประชุมกันเลือกราชบัณฑิตในสำนักของตนเป็นประธานสำนักคนหนึ่ง และเป็นเลขานุการสำนักคนหนึ่ง แล้วให้นายกราชบัณฑิตยสภาเสนอชื่อไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อแต่งตั้งโดยประกาศราชบัณฑิตยสภา

หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกประธานสำนักและเลขานุการสำนัก ให้เป็นไปตามข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา

มาตรา๓๔ประธานสำนักและเลขานุการสำนักมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปีและอาจได้รับเลือกใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้

ให้นำความในมาตรา ๒๘ วรรคสอง มาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของประธานสำนักและเลขานุการสำนักด้วยโดยอนุโลม

มาตรา๓๕การประชุมสำนัก ให้เป็นไปตามข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา

ในการประชุมสำนักแต่ละสำนัก ราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกมีหน้าที่เข้าประชุมและมีหน้าที่เสนอเรื่องเกี่ยวกับวิชาการที่ตนค้นคว้าได้ต่อสำนักตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

มาตรา๓๖ให้มีคณะกรรมการทางวิชาการของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาประจำสาขาวิชาต่าง ๆ คณะหนึ่งหรือหลายคณะ ซึ่งแต่งตั้งโดยนายกราชบัณฑิตยสภาเพื่อดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

นอกจากคณะกรรมการทางวิชาการตามวรรคหนึ่ง นายกราชบัณฑิตยสภามีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการอื่น เพื่อทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภา

ให้กรรมการทางวิชาการตามวรรคหนึ่งและกรรมการอื่นตามวรรคสองได้รับค่าตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

มาตรา๓๗ให้มีคณะกรรมการกิจการสำนักงานราชบัณฑิตยสภาคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

(๑)นายกราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานกรรมการ

(๒)อุปนายกราชบัณฑิตยสภา เป็นรองประธานกรรมการ

(๓)ประธานสำนักและเลขานุการสำนักทุกสำนัก เป็นกรรมการ

(๔)กรรมการซึ่งราชบัณฑิตยสภาแต่งตั้งจากราชบัณฑิตซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย และมิได้เป็นกรรมการตาม (๓) จำนวนสามคน

(๕)เลขาธิการราชบัณฑิตยสภาเป็นกรรมการและเลขานุการ และรองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

คณะกรรมการกิจการสำนักงานราชบัณฑิตยสภามีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(๑)เชื่อมประสานให้มีการปฏิบัติตามทิศทางและนโยบายที่ราชบัณฑิตยสภากำหนด

(๒)ให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางวิชาการและบริหารแก่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

(๓)กลั่นกรองเรื่องที่ราชบัณฑิตเสนอก่อนนำเข้าพิจารณาในราชบัณฑิตยสภา

(๔)ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ราชบัณฑิตยสภามอบหมาย

การแต่งตั้งและวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการตามวรรคหนึ่ง (๔) การดำเนินงานและการประชุมของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา

มาตรา๓๘ให้มีเลขาธิการราชบัณฑิตยสภาคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา และปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามนโยบาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ หรือคำสั่งของราชบัณฑิตยสภา นายกราชบัณฑิตยสภา และคณะกรรมการกิจการสำนักงานราชบัณฑิตยสภา และให้มีรองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภาเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วย

ให้เลขาธิการราชบัณฑิตยสภาและรองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ

การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการราชบัณฑิตยสภาให้แต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งที่อยู่ในหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาและการบริหารราชการแผ่นดิน โดยดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

บทเฉพาะกาล

มาตรา๓๙ให้ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต และราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต หรือราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา๔๐ให้คณะกรรมการต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถานซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นคณะกรรมการของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา๔๑ให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถาน อุปนายกราชบัณฑิตยสถาน ประธานสำนักและเลขานุการสำนัก อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นนายกราชบัณฑิตยสภา อุปนายกราชบัณฑิตยสภา ประธานสำนักและเลขานุการสำนัก ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไปจนครบวาระการดำรงตำแหน่ง

ให้ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นเลขาธิการราชบัณฑิตยสภาตามพระราชบัญญัตินี้

ให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นรองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภาตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา๔๒บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ระเบียบการ ประกาศ และคำสั่งที่ได้ออกตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๔ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ยังคงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนชื่อ "ราชบัณฑิตยสถาน" เป็น "ราชบัณฑิตยสภา" อันเป็นชื่อเดิมที่ใช้เรียกสืบมานับแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศในโอกาส ๑๒๐ ปี พระบรมราชสมภพ รวมทั้งปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภาและการบริหารงานวิชาการของราชบัณฑิตยสภาให้แพร่หลายแก่วงวิชาการของประเทศและประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้น ประกอบกับให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการสมาชิกราชบัณฑิตยสภาเพื่อเป็นประโยชน์แก่สมาชิกราชบัณฑิตยสภาและกำหนดให้รายได้ที่ราชบัณฑิตยสภาได้รับจากการให้บริการทางด้านวิชาการและการจัดการศึกษาอบรมสามารถนำไปใช้จ่ายในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินเพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารงานวิชาการมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"